วันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2557

ระบบปัญญาประดิษฐ์เบื้องต้น

ระบบปัญญาประดิษฐ์เบื้องต้น

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) คือ ศาสตร์แขนงหนึ่งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีพื้นฐานมาจากวิชาวิทยา การคอมพิวเตอร์  ชีววิทยา จิตวิทยา ภาษาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์  เป้าหมายของปัญญา ประดิษฐ์คือ การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีพฤติกรรมเลียนแบบมนุษย์ ตั้งแต่เห็น ฟัง เดิน พูด และรู้สึก รวมทั้งเลียนแบบความเป็นอัจฉริยะของมนุษย์
ความเป็นมาของปัญญาประดิษฐ์  
ปัญญาประดิษฐ์ได้เริ่มการ ศึกษาในปี ค.ศ.1950 โดยอาจารย์จาก ประเทศอเมริกาและอังกฤษ นิยามของปัญญาประดิษฐ์ได้ถูกกำหนดขึ้นในปี 1956 โดย John McCarthy ได้มีการศึกษา และพัฒนางานด้านปัญญาประดิษฐ์และได้มีการตั้งเกณฑ์ทดสอบเพื่อที่จะระบุว่า เครื่องจักรกลหรือระบบคอมพิวเตอร์สามารถคิดได้เหมือนมนุษย์ออกมาโดย Alan Turing นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ แต่จนบัดนี้เครื่องจักรกลหรือระบบคอมพิวเตอร์ก็ยังไม่สามารถผ่านเกณฑ์ของ Alan Turing ได้เลย  ณ ปัจจุบันระบบปัญญาประดิษฐ์ยังไม่สามารถสร้างคำตอบที่แปลกใหม่หรือคำตอบที่มา จากการคิดค้นขึ้นมาใหม่ของระบบเองได้ เพียงแต่เป็นการลอกเลียนความสามารถของมนุษย์ได้เท่านั้น
ลักษณะของงานปัญญาประดิษฐ์
                1.  Cognitive Science เป็นงานที่พัฒนาบนพื้นฐานของ ชีววิทยา จิตวิทยา และสาขาที่เกี่ยวข้องกับงานนี้ประกอบด้วย ระบบผู้เชี่ยวชาญ หรือ ระบบงานความรู้ ระบบเครือข่ายนิวรอน ฟัสชี่โลจิก เจนเนติกอัลกอริทึม เอเยนต์ชาญฉลาด และระบบการเรียนรู้
                2.  robotics เป็นงานซึ่งพัฒนาบนพื้นฐานของวิศวกรรมและสรีรศาสตร์ และเป็นการพยายามสร้างหุ่นยนต์ให้มีความฉลาดและถูกควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์แต่ สามารถเคลื่อนไหวได้เหมือนกับมนุษย์ โดยพยายามทำให้หุ่นยนต์มีทักษะให้ด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้คือ ทักษะในการมองเห็น  ทักษะในการสัมผัส ทักษะในการหยิบจับสิ่งของ ทักษะในการเคลื่อนไหว และทักษะในการนำทางเพื่อไปยังที่หมาย
                3.  natural interface เป็นงานซึ่งเน้นการพัฒนาเพื่อให้คอมพิวเตอร์ สามารถเข้าใจในสิ่งที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์สามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์หรือเครื่องจักรกลได้อย่างสะดวก  ประกอบด้วยงานด้านต่างๆ ดังนี้ ระบบที่มีความสามารถในการเข้าใจภาษามนุษย์ การพัฒนาระบบงานลักษณะนี้จะรวมเทคนิคของการจดจำคำพูดและเสียงของผู้ใช้งาน ได้ด้วย ซึ่งจะทำให้มนุษย์สามารถพูดหรือสั่งงานกับคอมพิวเตอร์หรือหุ่นยนต์ได้ด้วย ภาษามนุษย์ที่ไชใช้กันทั่วไป และระบบภาพเสมือนจริง เป็นการสร้างภาพเสมือนจริงหรือภาพจำลองของเหตุการณ์โดยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะมีการติดตั้งตัวเซ็นเซอร์ต่างๆ ไว้กับอุปกรณ์ที่ใช้เป็น Input / output ของระบบด้วย
ประโยชน์ของปัญญาประดิษฐ์
1. ข้อมูล จะถูกเก็บในลักษณะที่เป็นฐานความรู้ขององค์การ พนักงานสามารถเข้าไป สืบค้นและหาคำตอบหรือหาคำปรึกษาได้ทุกเวลา   
2.เพิ่มความสามารถให้กับฐาน ความรู้ขององค์การด้วยการเสนอวิธีการแก้ปัญหาสำหรับงานเฉพาะด้านซึ่งมี ปริมาณมากและมีความซับซ้อนมากเกนไปสำหรับมนุษย์    
3. ช่วยทำงานในส่วนที่เป็นงานประจำหรืองานที่เบื่อหน่ายของมนุษย์
4.ช่วยสร้างกลไกที่ ไม่นำความรู้สึกส่วนตัวของมนุษย์มาเป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจ

ที่มา:http://www.gotoknow.org/posts/358026


ระบบผู้เชี่ยวชาญ

ระบบผู้เชี่ยวชาญ

ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems) หรือระบบฐานความรู้ (Knowledge-based System) เป็นระบบที่รวบรวมและจัดเก็บความรู้และประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยในการหาข้อสรุปและคำแนะนำให้กับผู้ใช้
  ES จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนประกอบหลัก ได้แก่
       (1) ส่วนติดต่อกับผู้ใช้หรือบทสนทนา เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสื่อสารกับผู้ใช้
       (2) ฐานความรู้ (Knowledge-based) เป็นกลุ่มของข้อเท็จจริงหรือความสัมพันธ์ระหว่างข้อเท็จจริงที่เป็นความรู้หรือความเชี่ยวชาญในระบบนั้นๆ
       (3) กลไกอนุมาน หรือ Inference Engine เป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ใช้สำหรับค้นหาสารสนเทศจากฐานความรู้ เพื่อให้คำตอบ การทำนายและคำแนะนำตามแนวทางที่ผู้เชี่ยวชาญกระทำ






การทำงานของระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES)


ที่มา:http://nanynoty.blogspot.com/2013/02/blog-post_920.html

ระบบสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจ

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

 (Decision Support Systems: DSS)

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems: DSS) เป็นระบบสารสนเทศที่นำข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆ มาใช้ในการตัดสินใจ และจะช่วยสนับสนุนการแก้ปัญหาและตัดสินใจเฉพาะกรณีตามที่ผู้บริหารต้องการ เป็นการเน้นการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ        ลักษณะสำคัญของ DSS คือ จะต้องเป็นระบบที่ให้สารสนเทศอย่างรวดเร็วต่อการตัดสินใจ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและกำหนดกลยุทธ์ ดังนั้น DSS จึงควรออกแบบในลักษณะที่โต้ตอบกับผู้ใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล ซึ่งผู้บริหารมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการกำหนดรูปแบบการพัฒนา DSS       ปัจจุบันได้มีการใช้เครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางออนไลน์จากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่ได้มาจากการรวบรวมข้อมูลอดีตและปัจจุบันของ  TPS และข้อมูลภายนอกองค์การ  เรียกว่า  Online Analytical Processing หรือ  OLAP  สำหรับให้ผู้บริหารได้เรียกดูข้อมูลจากคลังข้อมูล (Data Warehouse)  ในหลายๆมุมมองที่แตกต่างกัน






ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS)



โดยทั่วไป  การตัดสินใจในการดำเนินงานขององค์การมักจะเป็นการตัดสินใจของกลุ่มผู้บริหาร  ดัง นั้นปัจจุบันจึงได้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาของกลุ่ม เรียกระบบนี้ว่า ระบบสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจกลุ่ม (Group Decision Support System: GDSS)       GDSS เป็นระบบสารสนเทศที่นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเสนอและแลกเปลี่ยนความคิด เห็น ระดมความคิด วิเคราะห์และการแก้ไขปัญหาเพื่อหาแนวทางหรือรูปแบบในการตัดสินใจร่วมกันของ กลุ่ม  และปัจจุบันสามารถใช้สนับสนุนการตัดสินใจของกลุ่มสมาชิกที่อยู่คนละสถานที่กันได้ด้วย       นอกจาก GDSS แล้ว  ยังมีระบบสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจระบบอื่นๆ อีก  เช่น  ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์(Geographic Information Systems : GIS)  ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งของสถานที่และเส้นทางการเดินทาง

ที่มา:http://nanynoty.blogspot.com/2013/02/blog-post_920.html

ระดับการใช้สารสนเทศในองค์การธุรกิจ

ระดับการใช้สารสนเทศในองค์การธุรกิจ


            ถ้าพิจารณาจ าแนกระบบสารสนเทศตามการสนับสนุนระดับการทำงานในองค์กร จะแบ่งระบบสารสนเทศ  ไดเ้ป็น 4 ประเภท ดังนี้

1. ระบบสารสนเทศสำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน (Operational – level systems) ช่วยสนับสนุน
การทำงานของผู้ปฏิบัติงานในส่วนปฏิบัติงานพื้นฐานและงานทำรายการต่างๆขององค์กร เช่น
ใบเสร็จรับเงิน รายการขาย การควบคุมวัสดุของหน่วยงาน เป็นต้น วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยการดำเนินงานประจำแต่ละวัน และควบคุมรายการข้อมูลที่เกิดขึ้น

2. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้ชำนาญการ (Knowledge-level systems) ระบบสนับสนุนผู้
ทำงานที่มีความรู้เกี่ยวกับข้อมูล วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยให้มีการนำความรู้ใหม่มาใช้และช่วยควบคุมการไหลเวียนของงานเอกสารขององค์กร

3. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Management - level systems) เป็นระบบสารสนเทศที่
ช่วยในการตรวจสอบ การควบคุม การตัดสินใจ และการบริหารงานของผู้บริหารระดับกลางขององค์กร

4. ระบบสารสนเทศระดับกลยุทธ์ (Strategic-level system) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยการ
บริหารระดับสูง ช่วยในการสนับสนุนการวางแผนระยะยาว หลักการของระบบคือต้องจัดความสัมพันธ์
ระหว่างสภาพแวดล้อมภายนอกกับความสามารถภายในที่องค์กรมี เช่นในอีก 5 ปี ข้างหน้า องค์กรจะผลิตสินค้าใด

ที่มา:http://61.19.212.44/~s54104nadthida/documents/A6.pdf

โครงสร้างการบริหารในองค์กรธุรกิจ

โครงสร้างการบริหารในองค์กรธุรกิจ
 (Organization Structure) 


          โครงสร้างองค์กร (Organization Structure) เป็นระบบที่เป็นทางการขององค์กร ความสัมพันธ์ระหว่างกฎ ระเบียบ งาน และอำนาจ เพื่อที่จะควบคุมบุคลากรในองค์กรให้ทำงานร่วมกัน และมีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้บรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งเราอาจกล่าวได้ว่า โครงสร้างองค์กรจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการบรรลุเป้าหมายหรือกลยุทธ์ขององค์กร สามารถแสดงโครงสร้างในรูปของแผนภูมิองค์กร (Organization Chart) ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของอำนาจหน้าที่ (Authority) และความรับผิดชอบ (Responsibility) ระหว่างตำแหน่งงานต่าง  ๆ ในองค์กร ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่าใครจะต้องทำงานอะไรและรายงานให้แก่ใคร  หรือใครบังคับบัญชาใครนั่นเอง  โดยที่เราสามารถสรุปแนวคิดที่เกี่ยวกับโครงสร้างองค์กรได้ดังนี้

1.  โครงสร้างองค์กรมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมองค์กร (Structure as an Influence on Behavior) ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนมากมาทำงานร่วมกัน จึงจำเป็นต้องมีรูปแบบ กฎเกณฑ์ และ แนวทางให้สมาชิกแต่ละคนปฏิบัติ เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งและความซับซ้อนในองค์กร เพื่อที่จะให้ทุกคนเกิดความเข้าใจร่วมกันและทำงานต่าง ๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรได้อย่างสอดคล้องและราบรื่น
2.  โครงสร้างองค์กรกำหนดกิจกรรม  (Structure as Recurring Activities) โครงสร้างองค์กรจะเป็นรูปแบบของกฎระเบียบ   และข้อกำหนดที่ว่า กิจกรรมใดควรทำและกิจกรรมใดที่ไม่ควรทำเพื่อเป็นแนวทางให้กับบุคลากรทุกคนและทุกระดับในองค์กรในการรับผิดชอบตนเอง
3.  โครงสร้างองค์กรมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมที่มีเป้าหมายขององค์กร (Structure as Purposeful and Goal – orientedBehavior) โครงสร้างองค์กรที่เป็นระบบ มีการกำหนดขั้นตอนอย่างชัดเจน จะทำให้บุคลากรทุกคนทราบถึงบทบาท หน้าที่ สถานภาพ และความรับผิดชอบของตน ซึ่งจะส่งเสริมให้การปฏิบัติงานของสมาชิกในองค์กรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยที่โครงสร้างองค์กรจะมีอิทธิพลต่อการดำเนินงานขององค์กรดังนี้
  • กำหนดอำนาจ  หน้าที่  และความรับผิดชอบ โดยแสดงให้เห็นว่า  ใครเป็นผู้บังคับบัญชา  หรือใครเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของใคร  และใครมีอำนาจ
  • หน้าที่  และความรับผิดชอบในงานใด
  • แสดงการติดต่อสื่อสารและการประสานงานภายในองค์กร  โดยรวมกิจกรรมและบุลากรที่มีความรู้  ทักษะ  และความชำนาญต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
  • กำหนดขอบเขตของการตัดสินใจให้แก่ฝ่ายบริหารระดับสูงในองค์กรเกี่ยวกับงานด้านต่าง ๆ ที่จะดำเนินการ
  • กำหนดความสมดุล   ความสอดคล้อง   และการจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมต่าง ๆ ให้ประสานงานและส่งเสริมต่อการบรรลุเป้าหมายของ
  • องค์กร
โครงสร้างองค์กรสมัยใหม่
การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจ   สังคม  การเมือง  เทคโนโลยี  และธุรกิจระหว่างประเทศได้ส่งผลต่อการดำเนินงานและการแข่งขันในอุสาหกรรมต่าง ๆ ทำให้องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนต่างต้องปรับตัวและเปลี่ยนรูปใหม่  เพื่อให้สอดคล้องกับกระแสกดดันของสภาพแวดล้อม  เพื่อความอยู่รอดและเติบโตต่อไป  ทำให้เกิดรูปแบบขององค์กรที่แตกต่างไปจากอดีต   โดยมีโครงสร้างองค์กรใหม่ ๆ ที่น่าสนใจดังนี้

1.  องค์กรแนวรวบ (Horizontal Organization) เป็นโครงสร้างองค์กรที่พยายามจะลดลำดับชั้นทางการจัดการ (Management Hierarchy) ลงไปในขณะที่จะมีการให้อำนาจแก่พนักงาน (Empowerment) ในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาอย่างคล่องตัว ทำให้มีประสิทธิภาพกว่าโครงสร้างองค์การรูปแบบเดิมโดยองค์กรตามแนวราบจะแบ่งโครงสร้างองค์กรตามกระบวนการสำคัญ ๆ(Core Process)และสร้างทีมงานที่ประกอบด้วยพนักงานจากหลาย ๆ ฝ่าย (Cross-functional ) ขึ้นมาเพื่อทำให้กระบวนการนั้นก้าวไปสู่เป้าหมายได้ นอกจากองค์กรแนวราบจะลดขั้นตอนและอุปสรรคในการทำงานของความแตกต่างทั้งในแนวราบ
โดยการสร้างทีมขึ้นมารับผิดชอบในแต่ละกระบวนการหลักแล้ว แต่ละทีมยังให้ความสำคัญกับความต้องการและความพึงพอใจของผู้บริโภค(CustomerSatisfaction) โดยเราสามารถสรุปปัจจัยหลักของการจัดองค์กรแนวราบออกเป็น 7 ประการ คือ

1. การจัดโครงสร้างองค์กรโดยคำนึงถึงกระบวนการ (Process) มิใช่งาน (Job/task)
2. ลดลำดับขั้นภายในองค์กรให้เหลือเท่าที่จำเป็นในปฏิบัติงาน
3. ใช้ทีมงานในการดำเนินงานและแก้ไขปัญหาให้สำเร็จ
4.  ใช้ความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสิ่งผลักดันในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
5.   มีการให้รางวัลกับการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
6.  เพิ่มการติดต่อและความสัมพันธ์กับผู้ขายวัตถุดิบ (Suppliers)
7.  ให้ข้อมูลข่าวสารและการฝึกฝนแก่พนักงาน  เพื่อให้เกิดความพร้อมในการปฏิบัติงาน

2.  องค์กรแบบ  Modular (Modular Organization) หรือระบบองค์กรที่มีความยืดหยุ่น มีการปรับเปลี่ยน จะช่วยให้องค์กรสมัยใหม่ในการขยายตัวให้ก้าวหน้า พ้นขอบเขตของความเป็นองค์กรเดี่ยวออกไป โดยองค์กรหลักที่เป็นแกนกลางของธุรกิจจะทำงานที่ตนมีความชำนาญซึ่งจะใช้บุคลากรจำนวนไม่มากนักในการพัฒนากลยุทธ์และศักยภาพในการแข่งขัน โดยจ้างงานให้กับองค์กรอื่นที่เป็นผู้รับเหมาช่วงงาน (Subcontractor) และมีผู้รับผิดชอบของการติดต่อกับผู้เช่าช่วงทั้งหลายให้ทำงานให้สอดคล้องกับแกนกลางธุรกิจ  ตัวอย่างเช่น องค์กรหลักอาจจะมีหน้าที่ขายเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) หรือ PC แต่กระจายหน้าที่ทางด้านการออกแบบ การผลิต และการกระจากสินค้าให้กับผู้รับเหมาช่วงงานอื่น ๆ เป็นต้น  โดยโครงสร้างขององค์กรแบบ Modular จะมีความยืดหยุ่นและคล่องตัวในการปรับเปลี่ยน  โดยไม่เกิดภาระกับบุคลากร  ผู้สนับสนุน  และการลงทุนในด้านธุรกิจที่ไม่ชำนาญและใช้เงินลงทุนสูง โดยแท้จริงแล้วองค์กรแบบ Modular จะมีหลายรูปแบบด้วยกัน ตัวอย่างเช่น องค์กรธุรกิจหลายองค์กรอาจรวมตัวกันเพื่อทำ
โครงการระดับนานาชาติ และอาจจะแยกตัวกันเมื่อโครงการเสร็จสิ้นลง เป็นต้น โดยที่องค์กรแบบ Modular จะมีลักษณะสำคัญอยู่ 4 ประการ คือ

1.  องค์กรแต่ละองค์กรต่างก็เป็นอิสระ ต่างก็ทำหน้าที่ทางธุรกิจของตน
2.  องค์กรหลักจะรวมกลุ่มธุรกิจเข้าด้วยกัน โดยมีผู้รับเหมาช่วงงานเข้ามาทำหน้าที่ตกลงกัน
3.  องค์กรต่าง ๆ เจ้ามาทำงานร่วมกันตามข้อตกลงที่กำหนด  ซึ่งจะไม่ก้าวก่ายในการดำเนินงานและการแก้ปัญหาภายในของกันและกัน  แต่ก็จะรับผิดชอบในการทำงานของตนให้สำเร็จตามที่สัญญากันไว้
4.  องค์กรจะเชื่อมโยงและใช้สารสนเทศระหว่างกัน ในการสร้างประสิทธิภาพและการรวมพลัง (Synergy) ในการทำงานให้สำเร็จ
3.  องค์กรเสมือน (Virtual Organization) เป็นระบบความสัมพันธ์ของผู้ขายวัตถุดิบ ลูกค้าและแม้แต่คู่แข่งที่ต่างก็เป็นอิสระแก่กัน แต่มารวมตัวกันด้วยผลประโยชน์ โดยใช้เทคโนโลยี สารสนเทศเชื่อมส่วนประกอบของระบบเข้าด้วยกัน แบบพึ่งพาอาศัยกัน (Interdependence) ซึ่งจะช่วยให้มีการร่วมกันใช้ทักษะ ต้นทุน และการเข้าถึงความต้องการของกันและกันได้ โดยที่องค์กรเสมือนจะเป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์ของพันธมิตรทางธุรกิจ (BusinessAlliance) ที่จะช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับองค์กรสมาชิก  ตัวอย่างเช่น  การเชื่อมโยงการดำเนินงานระหว่างผู้ผลิตกับผู้ขายวัตถุดิบเข้าด้วยกันด้วยการใช้ระบบสารสนเทศร่วมกัน  ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการวางแผนการผลิตและการบริหารต้นทุนทั้งสองฝ่าย  เป็นต้น โดยที่องค์กรเสมือนจะมีลักษณะ
สำคัญ  5 ประการ  คือ
1.  ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  สื่อสารโทรคมนาคม  และเครือข่ายคอมพิวเตอร์  เชื่อมโยงบริษัทที่อยู่ห่างไกลกันให้ติดต่อถึงกันและร่วมงานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.  รวมความยอดเยี่ยมและเชี่ยวชาญของหุ้นส่วนแต่ละหน่วยองค์กร  ที่จะใช้ความสามารถหลักของตนให้เกิดประโยชน์แก่องค์กรเสมือน  ซึ่งจะช่วยสร้างสรรค์ให้เกิดองค์กร (เสมือน) ที่มีศักยภาพสมบูรณ์แบบ
3.  สร้างโอกาสในการดำเนินงานและความสำเร็จในอนาคต  ความเป็นพันธมิตรอาจจะไม่ยั่งยืนถาวรและไม่เป็นทางการ  แต่มีรากฐานของการรวมตัวอยู่ที่การสร้างโอกาสทางธุรกิจ  โดยองค์กรต่าง ๆ จะรวมเข้าด้วยกันเพื่อคว้าโอกาสทางการตลาด และแยกย้ายกันอยู่และดำเนินงานของตนเมื่อผ่านพ้นไป
4.  ความเชื่อมต่อระหว่างกัน ความสัมพันธ์ของสมาชิกในองค์กรเสมือนจะต้องการความเชื่อถือและเชื่อใจระหว่างกันสูง  เนื่องด้วยการดำเนินงานของธุรกิจจะมีความข้องเกี่ยวระหว่างกันเป็นอย่างมากและความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์กรหนึ่งจะมีผลกระทบต่อองค์กร
5.  ไร้ขอบเขต  การที่มีความร่วมมือระหว่างกันมากขึ้นระหว่างบริษัทคู่แข่ง  ผู้ขายวัตถุดิบ และลูกค้า  ทำให้ตัดสินใจยากว่าขอบเขตของความเป็นองค์กรเสมือนอยู่ที่ใด  เพราะจะมีของเขตทางกายภาพที่ไม่ชัดเจน  แต่จะมีความสัมพันธ์ทางจิตใจระหว่างสมาชิก  ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่กำหนดความผูกพันและการเป็นสมาชิกขององค์กร
เราจะเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกธุรกิจจะทำให้การดำเนินงานและการแข่งขันขององค์กรต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไป  โครงสร้างและรูปแบบการดำเนินงานเดิมที่เคยประสบความสำเร็จอาจจะล้าสมัยและไม่สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือล้มเหลว  ดังนั้นผู้บริหารจะต้องหมั่นติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม  และปรับโครงสร้างองค์กรให้ทันสมัยอยู่เสมอ

ที่มา:http://uhost.rmutp.ac.th/kanlayanee.so/L6/6-1-1.html

ความสำคัญของระบบสารสนเทศกับองค์กรธุรกิจ

ความสำคัญของระบบสารสนเทศกับองค์กรธุรกิจ

                เนื่องจาก การเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูงขึ้น การตัดสินใจของผู้บริหารต้องทำในเวลาที่จำกัดภายใต้เงื่อนไขต่างๆมากมาย ทำให้บทบาทของสารสนเทศในองค์กรมีมากขึ้นในแง่ของการให้สารสนเทศแก่ผู้บริหารในการช่วยการตัดสินใจทางธุรกิจ จึงทำให้องค์กรตัดสินใจ นำระบบสารสนเทศหรือเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในองค์กร นำมาใช้เทคโนโลยีต่างๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่ในองค์กร เช่น การเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงาน การเพิ่มขีดความสามารถในการทำงาน และการสร้างความต้องการในด้านอื่นๆ นอกจากนี้องค์กรการเมืองในองค์กร ลักษณะการดำเนินการ  และวัฒนธรรมองค์กร เป็นต้น 
บทบาทขององค์กรที่มีต่อระบบสารสนเทศ
 องค์กรมีผลต่อระบบสารสนเทศในหลายด้านได้ดังนี้
            1.การตัดสินใจเรื่องบทบาทของระบบสารสนเทศและการนำระบบสารสนเทศมาใช้ กล่าวคือ องค์กรจะต้องทำการพิจารณาว่าจะนำระบบสารสนเทศมาใช้ให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขัน หรือจะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้แทนพนักงานเท่านั้น หรือที่เรียกว่า Automationหากองค์กรให้ความสำคัญต่อระบบสารสนเทศในการเป็นทรัพยากรที่ใช้ในการแข่งขัน องค์กรอาจจะต้องมีการจัดเตรียมงบประมาณในการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้มากขึ้น เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานของระบบให้ดีขึ้นเรื่อย
            
 2. การตัดสินใจว่าจะพัฒนาระบบสารสนเทศอย่างไร ได้แก่ การตัดสินใจที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศด้วยหน่วยงานภายใน หรือจะจ้างหน่วยงานภายนอกมาทำการพัฒนาที่เรียกว่า Outsourcing หากองค์กรจะทำการพัฒนาด้วยตัวเอง องค์กรจะต้องมีหน่วยงานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศภายในที่มีความรู้ ความสามารถเพียงพอในการจะดำเนินการดังกล่าวได้ 

              3. การตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดตั้งหน่วยงานสารสนเทศ ได้แก่ การตัดสินใจที่จะมีหน่วยงานสารสนเทศภายในแบบใด เช่น เป็นเพียงหน่วยงานสนับสนุนการบำรุงรักษาระบบสารสนเทศเท่านั้น หรือจะเป็นหน่วยงานสารสนเทศหลักในการพัฒนาระบบด้วยตัวเอง
              4. การตัดสินใจว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ต้องคำนึงถึงในการพัฒนาระบบสารสนเทศ เช่น จะต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานหรือไม่เพื่อรองรับการนำระบบสารสนเทศหรือเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์กร และปรับปรุงอย่างไร เป็นต้น
การนำระบบสารสนเทศมาใช้ในองค์กรก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรมากมาย  ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
                1.ทำให้ผู้บริหารมีสารสนเทศ(Information)มาช่วยในการตัดสินใจ การวิเคราะห์ การจัดการ และการควบคุมที่ดีขึ้น
                2.  ทำให้ผู้บริหารสามารถจัดการการงานที่มีประสิทธิภาพขึ้น ด้วยการเสริมทางด้านการติดต่อสื่อสารที่สะดวกรวดเร็ว
                3.  ทรัพยากรสารสนเทศมีความสำคัญมากขึ้น และถือเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรเช่นเดียวกับทรัพยากรด้านอื่นๆ ดังนั้นการจัดสรรงบประมาณการจัดซื้อหรือหรือหามาซึ่งทรัพยากรสารสนเทศถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนกลยุทธ์ขององค์กร

                4. ผู้บริหารทุกคนถือว่ามีส่วนสำคัญในการจัดการ และการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรสารสนเทศ 
                5. 
ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง วัฒนธรรม และอิทธิพลทางการเมืองในองค์กรหน่วยงานสารสนเทศหรือหน่วยงานทีมีส่วนในการเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลจะมีความสำคัญมากขึ้นในองค์กร

ที่มา:
http://km.reru.ac.th/wp-content/uploads/2009/01/a1.doc

ความหมายและบทบาทของข้อมูลและสารสนเทศ








ความหมายของข้อมูลสารสนเทศ



ข้อมูล (Data) หมายถึงข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆเช่นคน สัตว์สิ่งของและสถานที่  ฯลฯโดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสารการแปลความหมายและการประมวลผล ซึ่งข้อมูลอาจจะ ได้มาจากการสังเกตการรวบรวมการวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญลักษณ์ใดๆที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่นคะแนนสอบ เป็นต้น

สารสนเทศ (Information)หมายถึงข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว อาจใช้วิธีง่ายๆ
เช่น หาค่าเฉลี่ยหรือใช้เทคนิคขั้นสูง เช่นการวิจัยดำเนินงาน เป็นต้น เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไป
ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์หรือมีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหรือตอบปัญหาต่างๆ ได้ สารสนเทศประกอบด้วยข้อมูลเอกสารเสียง หรือรูปภาพต่างๆ แต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย สารสนเทศไม่ใช่จำกัดเฉพาะเพียงตัวเลขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

ที่มา:http://www.thaigoodview.com/library/contest2553/type2/tech04/43/__1.html



 ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยควาสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา


          พัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนไปมาก ลองย้อนไปในอดีตโลกมีกำเนินมาประมาณ 4600 ล้านปี เชื่อกันว่าพัฒนาการตามธรรมชาติทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตถือกำเนินบนโลกประมาณ 500 ล้านปีที่แล้ว ยุคไดโนเสาร์มีอายุอยู่ในช่วง 200 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ ค่อย ๆ พัฒนามา คาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้วมนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่างกันและพัฒนามาเป็นภาษา มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนึกถ้ำ เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่ามนุษย์ต้องใช้เวลานานพอสมควรในการพัฒนาตัวหนังสือที่ใช้แทนภาษาพูด และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่าฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 500 ถึง 800 ปีที่แล้ว เทคโนโลยีเริ่มเข้ามาช่วยในการพิมพ์ ทำให้การสื่อสารด้วยข้อความและภาษาเพิ่มขึ้นมาก เทคโนโลยีพัฒนามาจนถึงการสื่อสารกัน โดยส่งข้อความเป็นเสียงทางสายโทรศัพท์ได้ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว และเมื่อประมาณห้าสิบปีที่แล้ว ก็มีการส่งภาพโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ทำให้มีการใช้สารสนเทศในรูปแบบข่าวสารมากขึ้น ในปัจจุบันมีสถานที่วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แ ละสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ในการกระจ่ายข่าวสาร มีการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อรายงานเหตุการณ์สด เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก บทบาทของการพัฒนาเทคโนโลยีรวดเร็วขึ้นเมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ จะเห็นได้ว่าในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมาจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องให้เห็นอยู่ตลอดเวลา


บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
1. บทบาทต่อการดำเนินชีวิต เช่น การติดต่อสื่อสารและการคมนาคมขนส่ง
2. บทบาทเกี่ยวกับข้อมูล เช่น การจัดเก็บข้อมูลและการสร้างฐานข้อมูล การสื่อสารข้อมูล เป็นต้น
3. บทบาทด้านธุรกิจ เช่น งานด้านการตลาด การวิเคราะห์แนวโน้มการเจริญเติบโตของบริษัท
4. บทบาทด้านการศึกษา เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซอฟท์แวร์สื่อการสอน
5. บทบาทด้านการวิจัย เช่น การวิจัยเกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาประเทศ การวิจัยด้านการเกษตร การวิจัยด้านการแพทย์ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ฯลฯ ต้ออาศัยเทคโนโลยีโดยเฉพาะโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้านการประมวลผลข้อมูล เข้ามาช่วยเพื่อใช้งานวิจัยเพื่อต้องการความถูกต้องและความแม่นยำสูง
6. บทบาทด้านการทหาร เช่น การสื่อสารระหว่างหน่วยงานทางราชการ งานด้านข่าวกรอง
7. บทบาทด้านการแพทย์ เช่น การรักษาพยาบาล การผ่าตัด การตรวจโรค
8. บทบาทด้านอื่นๆ เช่น ด้านการบิน การโรงแรม การกีฬาและการผลิตสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรม